

ต้นพุดศุภโชค
ชื่อสามัญ : Gerdenia Crape Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gardenia jasminoides.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่นๆ : พุดศรีลังกา หรือพุดแคระ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ถิ่นกำเนิดศุภโชคเป็นต้นไม้แถบทวีปอเมริกาใต้ มีมากในตอนใต้ของประเทศแม็กซิโก , ตอนเหนือ ของประเทศบราซิล หมู่เกาะฮาวาย และตอนใต้ของประเทศฟอร์ริดา เป็นไม้ยืนต้นโตเร็ว ทรงพุ่มขนาดกลาง เป็นพืชทนต่อความแห้งแล้งได้ดี และเป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาตลอดปี สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ของประเทศไทย
ใบ เป็นใบประกอบออกที่ปลายยอดในแต่ละก้านจะมีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ รูปทรงเป็นแฉกคล้ายรูปวงกลม ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงไข่ยาว ปลายใบและโคนใบแหลม แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อคล้ายพู่สีขาวอมเหลือง ยาวประมาณ 5-8 ซม. มีเกสรอยู่ปลายหลอด มีกลีบรองสีเขียวอ่อนยาวและบิดม้วนลง ดอกมีกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ดอกออกปีละ 3 ครั้ง จะออกดอกมากที่ราวเดือนมีนาคม-สิงหาคม
ผล เป็นรูปไข่ เปลือกผลเรียบหนา ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล สามารถแตกออกได้ประมาณ 5 กลีบ โตเต็มที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 นิ้ว ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนราว12-25 เมล็ด และมีขนปุยสีขาวปกคลุมเมล็ดอยู่คล้ายกับผลนุ่น เมล็ดแก่มีรสชาติอร่อยคล้ายถั่ว สามารถนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก
การขยายพันธุ์ ด้วยการรเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และการปักชำ เป็นไม้โตเร็ว ชอบอากาศร้อนหรืออบอุ่น ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
การใช้ประโยชน์ :
- ปลูกเป็นไม้ประดับ
- ดอกพุด นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยเพื่อบูชาพระ มีการนำเมล็ดเมล็ดไปใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม เนื่องจากมีเมล็ดสีเหลืองทอง สำหรับดอกพุดซ้อนนั้นนำไปใช้สกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และมีการนำเอาไปทำสมุนไพร “สรรพคุณทางยา” โดยใช้ดอกนำมาคั้นเอาน้ำ ทาเพื่อแก้โรคผิวหนัง
- ใบ ดอกพุดซ้อนนำมาตำพอกแก้ปวดศีรษะ แก้เคล็ดขัดยอกที่เกิดขึ้น
- ราก ใช้รักษาอาการแก้ไข้
- ระบบรากใหญ่ และลึกเหมาะสำหรับที่จะส่งเสริมปลูกเป็นพืชในเชิงอนุรักษ์ต้นน้ำ
- เปลือกต้น แก้บิดที่เกิดขึ้นความเชื่อคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุดไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความเจริญ ความมั่นคง เพราะพุด หรือ พุฒ หมายถึง ความเเข็งแรงสมบูรณ์ คือความเจริญมั่นคง นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่า จะทำให้เกิดบริสุทธิ์ เพราะดอกพุดมีสีขาวสดใส กลับมีดอกใหญ่ที่ขาวสะอาด ดังนั้นแง่หนึ่งเช่นกันทั้งนี้ก็เพราะโบราณเชื่อว่าเนื้อไม้ของพุดเป็นไม้ที่แข็งแกร่งและมีอิทธิฤทธิ์พอสมควร